Siamsport print
Siamsport print
+662-508-8000 MON-SAT 08:30 - 17:30
 
The Best
in Thailand
Number
662-508-8000
Contact us

Blog

ความรู้เรื่องสีของงานพิมพ์

ความรู้เรื่องสีของงานพิมพ์CMYK กับ RGB แตกต่างกันอย่างไรมีหลายคนคงจะรู้จัก กับค่าโหมดสี CMYK  (สีฟ้า สีม่วงแดงเข้ม สีเหลือง สีดำ) และค่าโหมดสี RGB (สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน) เชื่อว่าหลายคนคงรู้จักกันอยู่แล้ว RGB เป็นสีที่ใช้ในการแสดงบนรูปภาพและบนหน้าจอแสดงสี อาทิ ทีวี โทรศัพท์CMYK ได้ถูกนำไปใช้ในด้านงานพิมพ์  ในการส่งค่าสีไฟล์อาร์ตเวิร์กในงานพิมพ์ จึงใช้ CMYK หากส่ง เป็นค่าสี RGB จะทำให้สีผิดเพี้ยนมาก 1. รูปภาพดิจิตอล และ RGB – RGB คืออะไร และ เราควรใช้เมื่อไหร่RGB ย่อมากจากสีพื้นฐานที่ได้แก่ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ด้วยการผสมสีทั้งสามในสัดส่วนต่างๆ คุณจะสามารถได้เฉดสีทั้งหมดประมาณ 16.8 ล้าน เฉด เพราะว่าสีเหล่านี้คือสีพื้นฐานกายภาพ ทุกรูปในอุปกรณ์ดิจิตอลใช้สีเหล่านี้เป็นปกติธรรมดา เช่นรูปถ่ายจากกล้องดิจิตอลหรือโทรศัพท์มือถือ คุณสมบัติที่โดดเด่นของช่วงสี RGB คือ สีที่เห็นจากการผสมของสีต่างๆของแสง ส่งผลให้ RGB...
Continue Reading

ความรู้เกี่ยวกับงานพิมพ์

ประเภทของการพิมพ์ การพิมพ์ออฟเซ็ท (Offset Printing)เป็นการพิมพ์พื้นราบที่ใช้หลักการน้ำกับน้ำมันไม่รวมตัวกัน โดยสร้างเยื่อน้ำไปเกาะอยู่บนบริเวณไร้ภาพของแผ่นแม่พิมพ์ เมื่อรับหมึก หมึกจะไม่เกาะน้ำแต่จะไปเกาะบริเวณที่เป็นภาพแล้วถูกถ่ายลงบนผ้ายางและกระดาษพิมพ์ต่อไป การพิมพ์ออฟเซ็ทสามารถผลิตงานพิมพ์ที่มีคุณภาพสูงจนถึงสูงมาก เครื่องพิมพ์มีหลายขนาด มีทั้งเครื่องพิมพ์ 1 สี 2 สี 4 สี 5 สี หรือมากกว่านั้น ตัวอย่างงานพิมพ์ออฟเซ็ท เช่น พิมพ์แผ่นพับ พิมพ์ใบปลิว พิมพ์หนังสือ พิมพ์วารสาร พิมพ์นิตยสาร พิมพ์โบรชัวร์ พิมพ์แคตตาล็อก บรรจุภัณฑ์กระดาษ งานพิมพ์ใช้ในสำนักงาน ฯลฯ การพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ (Letterpress Printing)เป็นการพิมพ์พื้นนูนที่ใช้แม่พิมพ์ทำจากโลหะผสมหรือพอลิเมอร์อย่างหนากัดผิวจนเหลือส่วนที่เป็นภาพนูนสำหรับรับหมึกพิมพ์แล้วถ่ายทอดลงบนวัสดุที่ใช้พิมพ์โดยใช้วิธีกดทับ ในยุคก่อนมีการใช้ตัวอักษรโลหะเป็นตัวๆ มาจัดเรียงเป็นข้อความที่ต้องการแล้วใช้เป็นแม่พิมพ์ การพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์มีมาช้านานเก่าแก่มาก ในปัจจุบันมีการพิมพ์ประเภทนี้เหลืออยู่น้อย เนื่องจากการทำแม่พิมพ์ลำบากและภาพพิมพ์ที่ได้ไม่ค่อยสวยงาม ตัวอย่างงานพิมพ์ประเภทนี้คือ นามบัตร แบบฟอร์ม ฉลาก กล่อง ป้ายและงานพิมพ์อื่นๆ ที่ไม่ต้องการความละเอียดมาก การพิมพ์ (ซิลค์) สกรีน (Silkscreen Printing)เป็นการพิมพ์พื้นฉลุที่ใช้หลักการพิมพ์โดยให้หมึกซึมทะลุผ่านผ้าที่ขึงตึงไว้ และให้ทะลุผ่านเฉพาะบริเวณที่เป็นภาพ สามารถพิมพ์งานสอดสีได้ ความละเอียดของภาพพิมพ์ขึ้นอยู่กับความถี่ของเส้นใยผ้า สามารถพิมพ์ลงบนวัสดุได้หลากหลากชนิด...
Continue Reading

ทำความรู้จักกับประเภทของการพิมพ์ดิจิตอล (Digital Printing) คืออะไร

การพิมพ์แบบระบบดิจิตอล (Digital Printing) เป็นการพิมพ์ที่ใช้การต่อพ่วงเครื่องพิมพ์กับคอมพิวเตอร์ โดยเครื่องพิมพ์จะรับข้อมูลภาพจากคอมพิวเตอร์แล้วพิมพ์ออกมา สามารถพิมพ์ได้หลากหลาย เปลี่ยนแปลงข้อมูลในแต่ละใบพิมพ์ได้ พิมพ์โดยตรงจากไฟล์ แตกต่างจากระบบการพิมพ์แบบออฟเซ็ท (Offset Printing) ที่ต้องมีกระบวนการทำเพลทก่อน ซึ่ในบทความนี้จะพามาทำความรู้จัก ประเภทของการพิมพ์ดิจิตอล แต่ละแบบกันปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องพิมพ์ Digital Press ขึ้นเพื่อตอบสนองการพิมพ์งานคุณภาพในปริมาณและเวลาที่คุ้มค่าใกล้เคียงกับการพิมพ์แบบออฟเซ็ต สามารถใช้วัสดุในการพิมพ์งานได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น กระดาษอาร์ตมัน กระดาษปอนด์ แผ่นใส โฮโลแกรม สติ๊กเกอร์ PVC เป็นต้น ประเภทของการพิมพ์ดิจิตอล• พิมพ์แบบถ่ายโอนความร้อน ใช้หลักการถ่ายความร้อนจากหัวพิมพ์ไปยังฟิล์มที่เคลือบด้วยหมึกพิมพ์ทำให้หมึกพิมพ์หลุดไปเกาะติดกับวัสดุใช้พิมพ์จนเกิดภาพ หรือข้อมูล• พิมพ์แบบพ่นหมึก/อิงค์เจ็ท งานพิมพ์ที่ใช้เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก โดยการพ่นหมึกออกมาเป็นหยดเล็ก ๆ ลงบนกระดาษ• พิมพ์แบบไฟฟ้าสถิตย์ ใช้หลักการควบคุมลำแสงสร้างภาพเป็นประจุไฟฟ้าบนกระบอกโลหะ แล้วให้ผงหมึกไปเกาะบนกระบอกโลหะตามบริเวณที่มีประจุอยู่เกิดเป็นภาพที่ถูกถ่ายทอดไปเกาะติดบนวัสดุใช้พิมพ์อีกทีหนึ่งงานพิมพ์ที่พิมพ์ด้วยระบบดิจิตอล • เมนูอาหาร เมนูน้ำหรือเมนูบุฟเฟ่ต์• คูปอง คูปองอาหาร คูปองชิงโชค บัตรกำนัล บัตรส่วนลดต่าง ๆ• หนังสือ หนังสือรุ่น หนังสือสวดมนต์• สติ๊กเกอร์ ฉลากสินค้า• ใบปลิว โบรชัวร์ แผ่นพับ• การ์ดเชิญ...
Continue Reading

ชนิดของ Sticker ที่นิยมใช้มากที่สุด

1.สติ๊กเกอร์พีวีซี (PVC sticker)เหมาะสำหรับใช้งานประเภทต้อง โดนน้ำ ตากฝน และโดนแสงแดด เช่น ติดฉลากสินค้าทั่วๆ ไป• ความแข็งแรง ทนทาน ยืดหยุ่นได้สูง• ทนต่อน้ำ 100 %*• ทนความร้อนได้ แต่ไม่ควรเกิน 40 ํC*• ราคาแพงกว่าสติ๊กเกอร์กระดาษ 2.สติ๊กเกอร์กระดาษ (Paper sticker)เหมาะสำหรับใช้งานประเภทติดกับวัสดุที่ ไม่ต้องระวังการเปียกหรือโดนน้ำ เช่นสติกเกอร์บาร์โค้ด สติกเกอร์บอกวันหมดอายุ สติกเกอร์ติดผลไม้• เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นทำธุรกิจ• โดนน้ำได้บ้างตามการเคลือบผิว*• ทนความร้อนได้ประมาณ 90 ํC*• ราคาถูกกว่าสติ๊กเกอร์ชนิดอื่นๆ 3.สติ๊กเกอร์พีพี(PP sticker)เหมาะสำหรับใช้งานประเภทต้องเจอความเย็นหรือความชื้น เช่น สติ๊กเกอร์ติดขวดครีมทาหน้า สติ๊กเกอร์ติดขวดแชมพู/ครีมนวด• แข็งแรง ทนทานมากกว่า สติ๊กเกอร์พีวีซี• ทนต่อน้ำ 100 %*• ทนความร้อนได้ประมาณ 90 ํC*• ราคาแพงกว่าสติ๊กเกอร์พีวีซี 4.สติ๊กเกอร์พีอีที (PET sticker)เหมาะสำหรับใช้งานประเภทติดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอุณหภูมิสูง มีความคงทนต่อความร้อนได้เป็นอย่างดี• แข็งแรง มีความคงทน คุณภาพสูง• ทนต่อน้ำ...
Continue Reading

ส่งไฟล์อะไรสำหรับพิมพ์

สกุลของไฟล์ที่เหมาะใช้พิมพ์งานกับสยามสปอร์ต นั้น จะมีไฟล์ 4 ชนิด ดังนี ไฟล์ PDF (.pdf) ที่ Save ออกมาเป็น PDF-X4ไฟล์ Illustrator (.ai) ที่ Embed Image และ Create outline font แล้ว หรือ แนบรูปและ font มากับไฟล์ด้วย (แนะนำให้ export file ด้วยเมนู package file)ไฟล์ Indesign (.indd) ที่ Embed Image และ Create outline font แล้ว หรือ แนบรูปและ font มากับไฟล์ด้วย (แนะนำให้ export file ด้วยเมนู package file)ไฟล์ Photoshop (.psd)...
Continue Reading

ชนิดของกระดาษ

การจำแนกกระดาษสามารถจัดแบ่งได้หลายวิธี ในที่นี้จะจัดแบ่งชนิดของกระดาษที่ใช้ในวงการพิมพ์และโรงพิมพ์ ซึ่งสามารถรวบรวมได้ดังนี้        กระดาษปรู๊ฟ (Newsprint) เป็นกระดาษที่มีส่วนผสมของเยื่อบดที่มีเส้นใยสั้น และมักนำเยื่อจากกระดาษใช้แล้วมาผสมด้วย กระดาษปรู๊ฟมีน้ำหนักเพียง 40 – 52 กรัม/ตารางเมตร มีสีอมเหลือง ราคาไม่แพงแต่ความแข็งแรงน้อย เหมาะสำหรับงานพิมพ์หนังสือพิมพ์ และเอกสารที่ไม่ต้องการคุณภาพมาก กระดาษแบ้งก์ (Bank Paper) เป็นกระดาษบางไม่เคลือบผิว น้ำหนักไม่เกิน 50 กรัม/ตารางเมตร มีสีให้เลือกหลายสี ใช้สำหรับงานพิมพ์แบบฟอร์มต่าง ๆ ที่มีสำเนาหลายชั้น  กระดาษปอนด์ (Bond Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมีที่ผ่านการฟอกและอาจมีส่วนผสมของเยื่อที่มาจากเศษผ้า มีสีขาว ผิวไม่เรียบ น้ำหนักอยู่ระหว่าง 60 – 100 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องความสวยงามปานกลาง พิมพ์สีเดียวหรือหลายสีก็ได้  กระดาษอาร์ต (Art Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมี (เยื่อที่ผลิตโดยใช้สารเคมี) และเคลือบผิวให้เรียบด้านเดียวหรือทั้งสองด้าน การเคลือบอาจจะเคลือบมันเงาหรือแบบด้านก็ได้ มีสีขาว น้ำหนักอยู่ระหว่าง 80 – 160 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องการความสวยงาม งานพิมพ์สอดสี เช่น แคตตาล็อก โบร์ชัวร์  ...
Continue Reading

กว่าจะเป็นหนังสือหนึ่งเล่ม

ป๊อบในฐานะที่คลุกคลีกับวงการนี้มาหลายปีก็มีประสบการณ์พอจะเล่าได้ไม่น้อย แต่สิ่งที่ป๊อบจะเล่าต่อไปนี้อยากให้ทุกคนรู้ว่ามันคือ “ภาพรวม” นะครับ ไม่ได้เจาะจงว่าเป็นสำนักพิมพ์ไหน เพราะป๊อบก็ไม่ได้อยู่แค่สยามอินเตอร์ฯ แต่ป๊อบตระเวนไปหลายที่หลายแห่ง รวมทั้งยังทำหนังสือเล่มล่าสุดเองด้วย ( เอ่อ ไม่มีสำนักพิมพ์เองนะครับผม หลายคนเข้าใจผิด ป๊อบแค่ทำงานทุกอย่างและมีทีมงานเอง แต่จ้างโรงพิมพ์ต่างหากนะครับ ) ดังนั้นป๊อบจะนำประสบการณ์จากที่ต่างๆมาสรุปให้ฟังกัน ทุกสิ่งเริ่มขึ้นจาก… ต้นฉบับ    ต้นฉบับก็คือ “ผลงาน” ของ “นักเขียน” และสำหรับบางคน คำสั้นๆนี้อาจเป็นโครงการณ์ข้ามชาติที่ไม่รู้ว่าจะเสร็จทันวันโลกาวินาศหรือไม่ ? ระยะเวลาของต้นฉบับ เป็นอะไรที่ไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับฟิลลิ่ง ความสุนทรีย์ ความอิสระ ความมุมานะของตัวนักเขียน ซึ่งสิ่งต่างๆที่เน้นตัวหนานั้นจะมีมากถึงจุดสุดยอดในช่วง 2 เดือนก่อนกำหนดส่งต้นฉบับ หรือหลังจากที่เหล่านักเขียนได้รับการสารกระตุ้นพิเศษอันมีชื่อว่า “สายตรงจากบอกอ” นั่นแล พวกเราจะเริ่มตะบี้ตะบันแหกขี้ตาเขียนกัน   ดังนั้นสิ่งแรกที่ป๊อบจะพูดในหัวข้อนี้ก็คือทริคเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับต้นฉบับครับผม   (อันนี้อ้างอิงจากประสบการณ์ตรงนะครับ)       1.1 ) โครงเรื่อง            เป็นหัวใจหลัก หรือ Core Concept ของงานทุกชนิด – สำหรับป๊อบโครงเรื่องคือการวาดแผนที่จินตนาการ เพื่อกำหนดจุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดหมาย เราต้องรู้ว่าเรื่องของเราจะเริ่มยังไง ?...
Continue Reading